ความเป็นมาในการจัดตั้งศูนย์
ด้วยในปี พ.ศ.2558 จะมีการเชื่อมโยงกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน 10 ประเทศเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย ไทย , มาเลเซีย , สิงค์โปร์ , เมียนมาร์ , เวียดนาม , ลาว , อินโดนีเซีย , กัมพูชา , ฟิลิปปินส์ และ บรูไน
สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ( Action plan ) การขับเคลื่อนการปฏิบัติในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 
ประวัติความเป็นมาของประชาคมอาเซียน

AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ

1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม

เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป

 
โครงการ/กิจกรรม/ฝึกอบรม
1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี พ.ศ.2558 ของสำนักงานตรวจสอบภายใน
2.โครงการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรภาครัฐในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
3.วีดีทัศน์การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 ของ ตร.

4.โครงการการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของสำนักงานตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558

 
 
 
Download เอกสาร
1.คู่มือหลักสิทธิมนุษยชน
2.ป้ายภาษาอังกฤษสำหรับสถานีตำรวจ
3.แผนที่ล่าม
4.สื่อการเรียนรู้อาเซียนกูรู
Download เพลงเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
1.ตำรวจไทยสวัสดีอาเซียน
2.เพลงอาเซียนร่วมใจ
3.The Asean Way
 
 
เว็บไซต์อื่นๆ ทีเกี่ยวข้อง
1.โครงสร้างและกลไกการดำเนินงานขององค์กรของอาเซียน
2.ศูนย์ขุมทองเพื่อการลงทุน
3.ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
4.กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
5.สถาบันในประเทศไทย/ASEAN WATCH
6.มองโลกแบบวิกรมกับอาเซียน
7.เรียนภาษากับ กพ.
8.ผลกระทบการค้าเสรีไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่่งยุโรป (pdf)
9.ASEAN Unit
10.กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
11.ประชาคมเศรฐกิจอาเซียน
12.สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
13.เข้าใจ Asean ผ่านการ์ตูน
14.รู้ภาษาอาเซียน
15.อาหารเกี่ยวกับอาเซียน
16.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ 10 ประเทศอาเซียน
17.สมาคมกฎหมายแห่งอาเซียน
18.ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
19.สมาคมอาเซียนประเทศไทย
20.ธุรกิจเเฟรนไซส์อาเซียน